วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาดูงานสถานที่ศูนย์การเรียนรู้


1. ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างห้องสมุดกับศูนย์สื่อการศึกษา


2. ให้นิสิตสรุปหลักการบริหารจัดการแบบ POSDCARE มาพอเข้าใจ
1. การวางแผนงาน (Planning : P) เป็นการกำหนดแผนงานและโครงงานที่จะดำเนินการในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทระยะยาวประมาณ 3 – 5 ปี และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
2. การจัดหน่วยงาน (Organizing : O) ศูนย์สื่อการศึกษา ต้องมีการกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่การแบ่งสายงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้โดยแบ่งเป็นฝ่าย หน่วยและแผนกที่ครอบคลุมกิจกรรมและการให้บริการที่ผู้รับบริการพึงพอใจโดยจัดให้เป็นสัดส่วนและอาจมีหน่วยงานที่ปรึกษาประกอบด้วยก็ได้
3. การจัดบุคลากร (Staffing : S) เป็นการจัดอัตรากำลังจัดคนหรือบุคลากรเข้าไปในหน่วยงานหรือการจัดบุคคลให้เข้ากับงานโดยคำนึงถึงคุณสมบัติของบุคคลและปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณของงาน ดังนั้นการบริหารงานด้านบุคลากรต้องบริหารด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) เพื่อเป็นการส่งเสริมขวัญ กำลังใจและเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน
4. การอำนวยการ (Direction : D) เป็นการกระทำให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายฉะนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีระบบการวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน การอำนวยการบางทีเรียกว่าเป็นการนิเทศหรือการสั่งการ การติดตามผล (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 17) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคทั้งทางจิตวิทยา การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ การสร้างขวัญและอื่น ๆ ประกอบ
5. การประสานงาน (Coordinating : C) คือ การประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานนอกจากนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีการจัดระบบการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายในกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขัน
6. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating of Resources : A) ศูนย์สื่อการศึกษาต้องจัดหาและจัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนโดยกำหนดแหล่งทรัพยากรและการจัดหาทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงบประมาณเพื่อดำเนินงานให้ตรงกับความต้องการของแผนงาน
7. การรายงาน (Reporting : R) การรายงานเป็นการแจ้งผลการปฏิบัติงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานความคืบหน้าของงานในหน่วยงาน การรายงานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกหน่วยงานก็ตาม นอกจากนั้นการรายงานก็เพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงานได้ทราบความเคลื่อนไหวของกิจการสม่ำเสมอด้วย


3. การจัดโครงสร้างองค์การของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน

4. บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานมีอะไรบ้าง
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ

5. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านห้องสมุดสื่อมีบทบาทอะไรบ้าง
1) ผู้สอน(teacher)
2) ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
3) ผู้ร่วมลงมือกระทำ (collaborator)
4) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้
5) ปรับวิธีการเรียนรู้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ใหม่ๆ

6. การประสานงาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างไร
การประสานงานเปนสิ่งสําคัญประการหนึ่งของการบริหารที่สามารถ
นําไปสูคุณภาพการบริหาร อันจะนํามาซึ่งผลสําเร็จขององคกร และในองคกรที่ตองเกี่ยวของกับ
สภาพแวดลอมภายนอกยิ่งมีความจําเปนที่จะตองใชการประสานงานเพื่อใหเกิดการรวมมือระหวางกันศึกษาวิธีการทํางานของกันและกัน ลดการซํ้าซอน สามารถแบงลักษณะงาน หรือกลุมเปาหมายที่ตนสมควรทําหรือมีความถนัดได้

7. องค์ประกอบของระบบประกอบด้วยกี่ด้าน
องค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback
5. สภาพแวดล้อม (Enviro

การศึกษาดูงานจากสถานที่ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ

1. ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างห้องสมุดกับศูนย์สื่อการศึกษา

2. ให้นิสิตสรุปหลักการบริหารจัดการแบบ POSDCARE มาพอเข้าใจ
1. การวางแผนงาน (Planning : P) เป็นการกำหนดแผนงานและโครงงานที่จะดำเนินการในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทระยะยาวประมาณ 3 – 5 ปี และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
2. การจัดหน่วยงาน (Organizing : O) ศูนย์สื่อการศึกษา ต้องมีการกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่การแบ่งสายงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้โดยแบ่งเป็นฝ่าย หน่วยและแผนกที่ครอบคลุมกิจกรรมและการให้บริการที่ผู้รับบริการพึงพอใจโดยจัดให้เป็นสัดส่วนและอาจมีหน่วยงานที่ปรึกษาประกอบด้วยก็ได้
3. การจัดบุคลากร (Staffing : S) เป็นการจัดอัตรากำลังจัดคนหรือบุคลากรเข้าไปในหน่วยงานหรือการจัดบุคคลให้เข้ากับงานโดยคำนึงถึงคุณสมบัติของบุคคลและปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณของงาน ดังนั้นการบริหารงานด้านบุคลากรต้องบริหารด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) เพื่อเป็นการส่งเสริมขวัญ กำลังใจและเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน
4. การอำนวยการ (Direction : D) เป็นการกระทำให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายฉะนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีระบบการวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน การอำนวยการบางทีเรียกว่าเป็นการนิเทศหรือการสั่งการ การติดตามผล (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 17) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคทั้งทางจิตวิทยา การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ การสร้างขวัญและอื่น ๆ ประกอบ
5. การประสานงาน (Coordinating : C) คือ การประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานนอกจากนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีการจัดระบบการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายในกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขัน
6. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating of Resources : A) ศูนย์สื่อการศึกษาต้องจัดหาและจัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนโดยกำหนดแหล่งทรัพยากรและการจัดหาทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงบประมาณเพื่อดำเนินงานให้ตรงกับความต้องการของแผนงาน
7. การรายงาน (Reporting : R) การรายงานเป็นการแจ้งผลการปฏิบัติงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานความคืบหน้าของงานในหน่วยงาน การรายงานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกหน่วยงานก็ตาม นอกจากนั้นการรายงานก็เพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงานได้ทราบความเคลื่อนไหวของกิจการสม่ำเสมอด้วย


3. การจัดโครงสร้างองค์การของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน

4. บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานมีอะไรบ้าง
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ

5. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านห้องสมุดสื่อมีบทบาทอะไรบ้าง
1) ผู้สอน(teacher)
2) ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
3) ผู้ร่วมลงมือกระทำ (collaborator)
4) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้
5) ปรับวิธีการเรียนรู้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ใหม่ๆ

6. การประสานงาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างไร
การประสานงานเปนสิ่งสําคัญประการหนึ่งของการบริหารที่สามารถ
นําไปสูคุณภาพการบริหาร อันจะนํามาซึ่งผลสําเร็จขององคกร และในองคกรที่ตองเกี่ยวของกับ
สภาพแวดลอมภายนอกยิ่งมีความจําเปนที่จะตองใชการประสานงานเพื่อใหเกิดการรวมมือระหวางกันศึกษาวิธีการทํางานของกันและกัน ลดการซํ้าซอน สามารถแบงลักษณะงาน หรือกลุมเปาหมายที่ตนสมควรทําหรือมีความถนัดได้

7. องค์ประกอบของระบบประกอบด้วยกี่ด้าน
องค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback
5. สภาพแวดล้อม (Environment

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์วิทยบริการ

1. ศูนย์วิทยบริการมีเป็นการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรูลักษณะใด
ข้อที่ 1 ศูนย์วิทยบริการเป็นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนอกโรงเรียนและแบบตามอัธยาศัย

2. ให้นิสิตสรุปความหมายของศูนย์วิทยบริการมาพอเข้าใจ
ข้อที่ 2 ศูนย์วิทยบริการ คือ สถานที่แหล่งการเรียนรู้ มีสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา แสวงหาความรู้
เป็นแหล่งข้อมูลให้ได้มีการเรียนรู้

3. การบริการของศูนย์วิทยบริการมีอะไรบ้าง
ข้อที่ 3 บริการมีสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ นิตยสาร วารสาร งานวิจัย ศูนย์วิทยบริการเป็นแหล่งข้อมูล เป็นแหล่งการศึกษา เป็นแหล่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งนันทนาการให้บริการข้อมูลต่างๆโดยไม่หวังผลกำไร


4. หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการคืออะไร
ข้อที่ 4 ให้บริการ แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เทคโนโลยีต่างๆ การสื่อสาร ให้บริการข้อมูลต่างๆโดยไม่หวังผลกำไร



5. ให้นิสิตเปรียบเทียบโครงสร้างของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยบูรพา สำนักวิทยบริการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร โดยสร้างเป็นตาราง 3 ช่อง และระบุฝ่ายงานต่าง ๆ พร้อมภารกิจให้บริการว่ามีอะไรบ้าง มีความเหมือนกันส่วนใด และต่างกันส่วนใด

การจัดรูปแบบองค์กรและการแบ่งส่วนงานม.บูรพา
หัวหน้างานสำนักงานเลขานุการ/
เลขานุการสำนักหอสมุด
หัวหน้างานบริหารทั่วไป หัวหน้างานการเงินและพัสดุ
หน่วยสารบรรณ
หน่วยบุคคล
หน่วยแผนงาน
หน่วยอาคารและยานพาหนะ
หน่วยประชาสัมพันธ์
หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา
หน่วยการเงินและบัญชี
หน่วยพัสดุ


ม.เกษตรศาสตร์



ม.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ข้อที่ 5
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้อำนวยการ เป็นผู้ดูแลสูงสุดมีผู้ดูแล2ฝ่ายกรรมการบริหารสถาบันวิทยบริการ
สำนักงานประกันคุณภาพ และแบ่งการทำงานให้กับรองผู้อำนวยการ และที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหอศิลปะด้วยมีการจัดแสดงงานศิลป์ ต่างจากมหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีผู้ดูแลฝ่ายต่างๆ

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์สื่อการศึกษา


วันที่ 2กรกฎาคม 2553
1. จงให้คำจำกัดความของศูนย์สื่อการศึกษามาให้เข้าใจ
สิ่งต่างๆที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือช่องทางหรือเครื่องมือที่ช่วยให้สารอาศัยผ่าน อาจอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed media) หรือสื่อไม่ตีพิมพ์ (Non-printed Media) ก็ได้

2. ทำไมศูนย์สื่อการศึกษาแต่ละสถาบันจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกัน จงอธิบาย
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามการจัดแบ่งของหน่วยงาน ความสำคัญของแต่ละศูนย์ และหน้าที่เฉพาะที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะของศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงแตกต่างกันไป และน่าจะแยกได้ออกเป็นแบบต่าง ๆ ได้แก่
1. ศูนย์สื่อเพื่อการผลิตและเผยแพร่ (Production and Distribution) เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ในการ ผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ การจัดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน จัดอบรมการผลิตสื่อและจำหน่ายสื่อให้กับผู้สนใจ
2. ศูนย์สื่อเพื่อให้บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน (Service and Support) เป็นศูนย์ที่ ให้บริการสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์การสอน การให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการใช้สื่อเป็นศูนย์ที่มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อ ให้บริการยืม และสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ที่ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
3. ศูนย์สื่อครบวงจร เป็นศูนย์ที่รวมรูปแบบของศูนย์สื่อเพื่อผลิตและบริการเข้าไว้ในรูปแบบ เดียวกัน เป็นศูนย์ที่มีการจัดพื้นที่ในการผลิตและให้บริการสื่อทุกประเภท ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการกับผู้ใช้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา จัดอบรมการผลิตสื่อและเผยแพร่นวัตกรรม ให้ยืมอุปกรณ์การศึกษาและจัดจำหน่วยสื่อการสอนที่ศูนย์ผลิตขึ้น

4. ศูนย์สื่อเฉพาะทาง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วย งานหนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นเพียงศูนย์สื่อเพื่อการผลิต ศูนย์สื่อเพื่อการบริการ หรือศูนย์สื่อที่ครบวงจรก็ได้ แต่จะทำงานเพื่อประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ข้อ3. ในการจัดศูนย์สื่อการศึกษาขึ้นมาในแต่ละสถานศึกษาทั่วไป มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
เป็นแหล่งบริการเครื่องมืออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความ-สะดวกในการสอนให้กับครูอาจารย์มากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ต้องการแสวงหา ภายใต้แนวคิดที่ว่าผู้เรียนคือศูนย์กลางการเรียนดังนั้นถ้าไม่ปรับเปลี่ยนศูนย์สื่อการสอนให้มีสภาพเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อเอื้อให้กับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ ระบบโทรคมนาคมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ แล้วเราจะปรับเปลี่ยนวิธีการทางการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้คิดและได้ทำด้วยตนเองให้เกิดขึ้นได้อย่างไร



ข้อ4. จงวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาในแต่ละวิธีการ
มาให้เข้าใจ
วิธีการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาได้ดังนี้
แบบเฉพาะห้องสมุด (Centralization of Library Materials and Services Only) เป็นการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาที่สถาบันการศึกษาได้จัดศูนย์สื่อการศึกษาบริการเฉพาะสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องสมุดไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (Non – Printed Materials) ที่เป็นสื่อการสอนต่างๆจัดซื้อดูแลรักษาด้วยตนเอง
ข้อดี เป็นที่รวมความรู้ต่างๆมากมาย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากหลายแหล่ง
ข้อจำกัด ได้รับข้อมูลที่ดีแต่ขาดการปฏิบัติและประสบพบเจอกับจริง

แบบเฉพาะสื่อโสตทัศนูปกรณ์(Audiovisual Services หรือ Audiovisual Aids) เป็นการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาที่เน้นการให้บริการสื่อประเภทวัสดุที่ไม่เป็นสิ่งตีพิมพ์ ได้แก่ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ
ข้อดี เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ค่อนข้างหลากหลายได้รับความรู้จากหลายทาง
ข้อจำกัด อุปกรณ์ สื่อต่างๆอาจจะให้ความรู้ได้ไม่ครบและครอบคุมตามที่ต้องการ
แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์ (Centralization of Instructional Media Center Services) เป็นการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาที่สมบูรณ์ คือ สามารถให้บริการสื่อประเภทสิ่งพิมพ์และสื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ในศูนย์ฯ เดียวกันโดยจะมีคณะทำงานและบุคลากรที่มีความชำนาญงานเฉพาะสาขาช่วยดำเนินงานให้เกิดผลอย่างเต็มที่ มีการบริหารงานและระบบการบริการเป็นหน่วยงานเดียวกัน
ข้อดี มีความครบคันที่หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
ข้อจำกัด คนไม่มีเงินอาจจะเข้าไม่ถึงในด้านนี้ เพราะบางที่มีค่าใช้จ่าย

ข้อ5. หากท่านประสงค์จะจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาจะมีหลักการดำเนินงานอย่างไร
กำหนดจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้
1. เป็นแหล่งบริการและอำนวยความสะดวกในด้านการผลิตสื่อสำหรับผู้สอนและผู้เรียน
2. ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ประกอบในการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
3. เป็นแหล่งค้นคว้าและวิจัยเทคนิคการเรียนการสอนใหม่ๆ
4. ช่วยเหลือผู้เรียนในการพัฒนาความรู้โดยใช้สื่อหลายรูปแบบ
5. ให้ความร่วมและประสานความรวมมือในการใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในสถาบันและภายนอกสถาบัน
6. ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามความสามารถและความสนใจของบุคคล
7. เป็นแหล่งรวมวัสดุอุปกรณ์ที่กระจัดกระจายในแต่ละหน่วยงานในสถานศึกษา ให้สามารถนำมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ
8. ใช้เป็นสถานที่เลือกสรรมาตรฐานของสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน
9. เพื่อเป็นสถานที่ประสานที่ประสานประโยชน์ด้านห้องสมุดและโสตทัศน์เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นแหล่งความรู้อันสมบูรณ์

อ้างอิง www.dei.ac.th/ac/06.doc
http://gotoknow.org/blog/jananey/207345
ข้อ6.
1.สำนักงานหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์
2.สำนักงานหอสมุด มหาวิทยาบูรพา แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์
3.สำนักงานหอสมุดแห่งชาติจังหวัดชลบุรี แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์
4. ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล แบบเฉพาะสื่อโสตทัศนูปกรณ์
5.สวนหลวง ร.9 ชลบุรี แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บอกเรื่องราวทฤษฎีการจัดการผ่าน e-Learning

1. ความหมายของศูนย์การเรียนรู้
การเรียนรู้มิได้หมายถึงการรับรู้ข้อมูลแต่การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของพฤติกรรมอย่างถาวรโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับและประสบการณ์นั้นเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม ลักษณะองค์ประกอบของศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์หรือมุมการเรียนรู้เป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ ของเล่นสำหรับเด็กที่เป็นพวกเดียวกันใช้ประโยชน์อย่างเดียวกันเป็นหมวดหมู่ พร้อมให้เด็กใช้เล่นได้ตามความสนใจอย่างอิสระการกำหนดชื่อศูนย์หรือมุมการเรียนรู้จะเน้นตามชื่อของอุปกรณ์สิ่งของที่จัดไว้ในศูนย์หรือมุมการเรียนรู้นั้น ได้แก่
มุมหนังสือ เป็นแหล่งรวมหนังสือสำหรับเด็กประเภทต่าง ๆ คล้ายห้องสมุดย่อย มุมไม้บล็อค เป็นแหล่งรวม
ไม้บล็อกตัวต่อ ลัง ที่เด็กสามารถนำไปต่อเล่นสนุกหรือต่อเล่นเป็นบ้านสมมติ เป็นต้น มุมบ้านบทบาทสมมติเป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ เครื่องเรือนเครื่องครัว เสื้อผ้า เด็กสามารถใช้มุม บ้านเล่นสมมติหรือติ๊งต่าง เป็นบุคคลในครอบครัว มุมวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งรวมสัตว์ พืช เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเช่นแว่นขยายตะแกรงจับแมลงเป็นต้น มุมดนตรี ปกติมักจะแยกเป็นเอกเทศ เพราะเวลาเล่นเสียงจะรบกวนมุมอื่น ๆ ถ้าอยู่ห้องเดียวกันอุปกรณ์ในมุมจะเป็นเครื่องดนตรี เคาะ ดีด สี ตี เป่าที่เด็กเรียนได้อย่างอิสระ มุมศิลปะเป็นที่สำหรับทำกิจกรรมศิลปะ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สี พู่กัน ดินน้ำมัน ฯลฯ
อ้างอิง http://pre.aru.ac.th/content/blogsection/4/15/

2. ทรัพยากรเรียนรู้คือ ทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งของ ที่ให้ความรู้
แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
อ้างอิง images.jirapornetc.multiply.multiplycontent.com/.../แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้.doc?...

3. มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา ที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้ง จากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา 38 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงาน การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่ การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้อง กับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคม ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครอง และครู ผู้นำทางศาสนา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธาน กรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่ การศึกษา

อ้างอิง http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/Nthailaw-4-1/Nlaw/N1188/m1-40.html

4. ประเภทของศูนย์การเรียน
1. ศูนย์การเรียนที่แยกเป็นเอกเทศจากห้องเรียน
1.1 ศูนย์การเรียนสำหรับครู
1.2 ศูนย์การเรียนสำหรับนักเรียน
1.3 ศูนย์การเรียนสำหรับชุมชน
2. ศูนย์การเรียนที่ไม่แยกเป็นเอกเทศจากห้องเรียน
2.1 ศูนย์การเรียนในห้องเรียน
2.2 ห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน
ตัวอย่างศูนย์การเรียนในชลบุรีมา 3 แหล่ง
1.สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



2.หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี



3.วัดใหญ่อินทราราม



อ้างอิง http://learning.smd.kku.ac.th/science/www/student/sclow5.htm
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww525/saint2514/saint2514-web1/amphurmuang_files/amphurmuang.htm

5. ระบบการศึกษาเป็นระบบแรกที่สร้างเทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น และเป็นสิ่งชักนำให้ส่งผลกระทบไปในงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ในปัจจุบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนเนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในระยะยาว การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปถึงระดับ มัธยมและประถมด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานี้จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้าง ขวางรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ศึกษาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าใน การศึกษาได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสอนที่จะเป็น ประโยชน์ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ เรียนได้อีกด้วย
นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง และมีผู้สร้างบทเรียนสำหรับใช้สอนโดยคอมพิวเตอร์มากขึ้น ในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้เรียนจะเรียนโดยใช้แป้นตัวอักษรและจอโทรทัศน์ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีผู้เตรียมบทเรียนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพและข้อความบนจอโทรทัศน์ ข้อความนั้นอาจจะเป็นคำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติ คำอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจหรือเป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนว่าได้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ดีขึ้นประการใดบ้าง ผู้สอนสามารถจะติดตามผลการเรียนได้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนการสอนดี ขึ้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงบทเรียนที่ใช้สอนของตนอยู่เสมอผู้เรียนจะ ต้องอ่านบทเรียนจากจอภาพแทนการอ่านจากหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ตำราหรือบทเรียนจะเก็บในรูปของจานแม่เหล็กหรือแถบวีดิทัศน์แทนหนังสือ ผู้เรียนสามารถหาอ่านได้ง่าย สมมุติว่าเราต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องต้นไม้ ถ้าเรื่องนี้มีเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจดูว่ามีเรื่องนี้ ณ ที่ใด และจะแสดงบนจอภาพให้เห็นได้ทันที ผู้เรียนทุ่นเวลาในการไปค้นหาได้มาก ผลกระทบเหล่านี้จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
ผลกระทบที่สำคัญทางด้านการศึกษาคือ การกลับมาอบรมและศึกษาใหม่ เนื่องจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ ต้องปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบงานที่กำลังจะเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกลับ เข้าอบรมและศึกษาใหม่ ถ้าการสอนเทคโนโลยีลึกซึ้งเกินไป ผู้เข้ารับการอบรมจะท้อแท้และเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ไม่สามารถรับวิทยาการใหม่ได้ ผลก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยลง และอาจจะก่อปัญหาถึงระดับสูงได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกลับมายังวิธีการศึกษาว่าจะต้องหาทางพัฒนาวิธีการ ให้เข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับได้ตั้งแต่แรก
ส่วนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังมีลักษณะเหมือนเดิม คือ มีห้องเรียน มีครูสอน มีอุปกรณ์การสอนเช่นเดิม เช่น กระดานดำ เครื่องฉายสไลด์ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือการวางแผนบริหารระบบงานทางด้านการศึกษา ให้สะดวกต่อการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้

อ้างอิง
ผลกระทบทางด้านการศึกษา โดย นายสมชาย ทยานยง และนางสาววรจิต วัฒนสินธุ์
http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2139&title=%BC%C5%A1%C3%D0%B7%BA%B7%D2%A7%B4%E9%D2%B9%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 ก้าวทันเทคโนโลยีการจัดการด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล้อค

วันที่ 25 มิถุนายน 2553
-ให้สรุปทฤษฎีหลักการจัดการ (ถ้านำข้อมูลมาจาก เว้บอื่นๆ ให้อ้างอิงด้วย)
•ความหมาย
การจัดการ เป็นการดำเนินงานหรือกระบวนการใดๆ ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีองค์ประกอบ คือ
1.เป้าหมายที่ชัดเจน (Goal)
2.ทรัพยากรในการบริหารที่มีจำกัด (Management Resources)
3.การประสานงานระหว่างกัน (Co-ordinate)
4.การแบ่งงานกันทำ (Division)

ทรัพยากรในการจัดการ
•Man
•Money
•Materials
•Methods
•Market
•Machine
•Moral (ขวัญ กำลังใจ)

การจัดการ (Management)
•เป็นกระบวนการบริหารงานใดๆ ขององค์การที่ต้องการกำไรโดยผู้จัดการจะต้องทำให้องค์การบรรลุเป้าหมาย
•เพื่อให้องค์การอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่ ซึ่งอยู่ในระบบการแข่งขัน


-ประโยชน์ของเว็บบล้อค

เป็นเว็บไซต์ของเราเอง เราสามารถที่จะทำตัวเป็น Guru หรือผู้รู้ด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษได้ ทั้งเรื่องของกีฬา แฟชั่น ดนตรี ภาพยนต์ หรือเรื่องอะไรก็ได้ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเหตุบ้านการเมือง แต่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เมื่อเราเป็นฝ่ายให้ข้อมูลไป ก็ต้องระวังเรื่องเสียงตอบรับกลับมาด้วยเช่นกัน
ให้ความคิเห็นและใช้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องที่สนใจเหมือนกัน
เว็บบล็อกจะมีระบบคอมเมนต์บล็อกที่เราเขียนไว้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกของเราได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เขียนไว้ในบล็อก เราไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย อื่นๆ อีกมากมาย
-ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้

ได้รับความรู้จากการเยนรู้ด้วยตนเองและจากการค้นคว้าจากแหล่งต่างๆและได้รับรู้การสร้างความรู้จากแหล่งต่างๆทำให้เกิดความสนุกสนานความเพลิดเพลินในการเรียนและทำให้ไม่เบื่อกับการเรียนในแต่ละครั้งถ้ามีการเรียนในรู้แบบนี้และวิชาอื่นๆที่น่าเบื่อและเปลี่ยนแปลงมาใช้วิธีการเรียนการสอนอย่างนี้

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ตั้งความหวังสู่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน

วันที่ 18 มิถุนายน 2553
-ให้นิสิตสรุปขอบข่ายงานของเทคโนโลยีการศึกษา

ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้
1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design)
1.1.2 ออกแบบสาร (message design)
1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)
1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)
1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ
1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)
1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)
1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)
1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)
1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization)
1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations)
1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization)
1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)
1.4 การจัดการ (management)
1.4.1 การจัดการโครงการ (project management)
1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management)
1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management
1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management)
1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis
1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement)
1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation)
1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation)

-ความหมายของศูนย์

การเรียนรู้มิได้หมายถึงการรับรู้ข้อมูลแต่การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของพฤติกรรมอย่างถาวรโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับและประสบการณ์นั้นเป็นแหตุให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม
เช่น การได้สัมผัสกับเหตุการณ์การเข้าร่วมในเหตุการณ์
การได้รับรู้เหตุการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้วมีผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัดเจน
เรียกว่าการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กได้มากจากการเล่นเป็นสำคัญ
ศูนย์การเรียนรู้ (Learning center)
เป็นบริเวณที่จัดขึ้นสำหรับให้ได้เรียนรู้และรับผิดชอบตนเองด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือกับเพื่อนตามความสนใจ
ความต้องการ รูปแบบการเรียนรู้และระดับพัฒนาการ

-ความหมายของทรัพยากร

ความหมายของทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในแง่ของการอนุรักษ์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่สูญสิ้น (Inexhaustible Natural resources) ได้แก่ น้ำในวัฏจักร พลังงานแสงอาทิตย์ และบรรยากาศ
2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วสูญสิ้น (Exhaustible Natural resources) ได้แก่ ดิน น้ำในแหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรมนุษย์ แร่ธาตุ และพลังงานอันเกิดจากสิ่งมีชีวิต(ถ่านหิน กาซธรรมชาติน้ำมัน)ทรัพยากรที่ใช้แล้ว

-ความหมายของการเรียนรู้

การเรียนรู้1 หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และ
เกิดทักษะต่างๆ ที่ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
การเรียนรู้2 หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวคิด และพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์
การเรียนรู้3 หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนถ่ายประสบการณ์ไปเป็นความรู้ ทักษะและเจตคติ โดยอาศัยกระบวนการ
ที่หลากหลาย
จึงสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การที่ได้รับประสบการณ์ จนเกิดการพัฒนาเป็น ความรู้ ทักษะ แนวคิด จนเกิดการ
เปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมใหม่

-ภาพของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน