วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาดูงานสถานที่ศูนย์การเรียนรู้


1. ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างห้องสมุดกับศูนย์สื่อการศึกษา


2. ให้นิสิตสรุปหลักการบริหารจัดการแบบ POSDCARE มาพอเข้าใจ
1. การวางแผนงาน (Planning : P) เป็นการกำหนดแผนงานและโครงงานที่จะดำเนินการในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทระยะยาวประมาณ 3 – 5 ปี และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
2. การจัดหน่วยงาน (Organizing : O) ศูนย์สื่อการศึกษา ต้องมีการกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่การแบ่งสายงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้โดยแบ่งเป็นฝ่าย หน่วยและแผนกที่ครอบคลุมกิจกรรมและการให้บริการที่ผู้รับบริการพึงพอใจโดยจัดให้เป็นสัดส่วนและอาจมีหน่วยงานที่ปรึกษาประกอบด้วยก็ได้
3. การจัดบุคลากร (Staffing : S) เป็นการจัดอัตรากำลังจัดคนหรือบุคลากรเข้าไปในหน่วยงานหรือการจัดบุคคลให้เข้ากับงานโดยคำนึงถึงคุณสมบัติของบุคคลและปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณของงาน ดังนั้นการบริหารงานด้านบุคลากรต้องบริหารด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) เพื่อเป็นการส่งเสริมขวัญ กำลังใจและเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน
4. การอำนวยการ (Direction : D) เป็นการกระทำให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายฉะนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีระบบการวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน การอำนวยการบางทีเรียกว่าเป็นการนิเทศหรือการสั่งการ การติดตามผล (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 17) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคทั้งทางจิตวิทยา การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ การสร้างขวัญและอื่น ๆ ประกอบ
5. การประสานงาน (Coordinating : C) คือ การประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานนอกจากนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีการจัดระบบการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายในกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขัน
6. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating of Resources : A) ศูนย์สื่อการศึกษาต้องจัดหาและจัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนโดยกำหนดแหล่งทรัพยากรและการจัดหาทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงบประมาณเพื่อดำเนินงานให้ตรงกับความต้องการของแผนงาน
7. การรายงาน (Reporting : R) การรายงานเป็นการแจ้งผลการปฏิบัติงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานความคืบหน้าของงานในหน่วยงาน การรายงานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกหน่วยงานก็ตาม นอกจากนั้นการรายงานก็เพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงานได้ทราบความเคลื่อนไหวของกิจการสม่ำเสมอด้วย


3. การจัดโครงสร้างองค์การของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน

4. บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานมีอะไรบ้าง
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ

5. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านห้องสมุดสื่อมีบทบาทอะไรบ้าง
1) ผู้สอน(teacher)
2) ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
3) ผู้ร่วมลงมือกระทำ (collaborator)
4) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้
5) ปรับวิธีการเรียนรู้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ใหม่ๆ

6. การประสานงาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างไร
การประสานงานเปนสิ่งสําคัญประการหนึ่งของการบริหารที่สามารถ
นําไปสูคุณภาพการบริหาร อันจะนํามาซึ่งผลสําเร็จขององคกร และในองคกรที่ตองเกี่ยวของกับ
สภาพแวดลอมภายนอกยิ่งมีความจําเปนที่จะตองใชการประสานงานเพื่อใหเกิดการรวมมือระหวางกันศึกษาวิธีการทํางานของกันและกัน ลดการซํ้าซอน สามารถแบงลักษณะงาน หรือกลุมเปาหมายที่ตนสมควรทําหรือมีความถนัดได้

7. องค์ประกอบของระบบประกอบด้วยกี่ด้าน
องค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback
5. สภาพแวดล้อม (Enviro

การศึกษาดูงานจากสถานที่ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ

1. ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างห้องสมุดกับศูนย์สื่อการศึกษา

2. ให้นิสิตสรุปหลักการบริหารจัดการแบบ POSDCARE มาพอเข้าใจ
1. การวางแผนงาน (Planning : P) เป็นการกำหนดแผนงานและโครงงานที่จะดำเนินการในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทระยะยาวประมาณ 3 – 5 ปี และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
2. การจัดหน่วยงาน (Organizing : O) ศูนย์สื่อการศึกษา ต้องมีการกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่การแบ่งสายงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้โดยแบ่งเป็นฝ่าย หน่วยและแผนกที่ครอบคลุมกิจกรรมและการให้บริการที่ผู้รับบริการพึงพอใจโดยจัดให้เป็นสัดส่วนและอาจมีหน่วยงานที่ปรึกษาประกอบด้วยก็ได้
3. การจัดบุคลากร (Staffing : S) เป็นการจัดอัตรากำลังจัดคนหรือบุคลากรเข้าไปในหน่วยงานหรือการจัดบุคคลให้เข้ากับงานโดยคำนึงถึงคุณสมบัติของบุคคลและปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณของงาน ดังนั้นการบริหารงานด้านบุคลากรต้องบริหารด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) เพื่อเป็นการส่งเสริมขวัญ กำลังใจและเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน
4. การอำนวยการ (Direction : D) เป็นการกระทำให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายฉะนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีระบบการวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน การอำนวยการบางทีเรียกว่าเป็นการนิเทศหรือการสั่งการ การติดตามผล (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 17) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคทั้งทางจิตวิทยา การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ การสร้างขวัญและอื่น ๆ ประกอบ
5. การประสานงาน (Coordinating : C) คือ การประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานนอกจากนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีการจัดระบบการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายในกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขัน
6. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating of Resources : A) ศูนย์สื่อการศึกษาต้องจัดหาและจัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนโดยกำหนดแหล่งทรัพยากรและการจัดหาทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงบประมาณเพื่อดำเนินงานให้ตรงกับความต้องการของแผนงาน
7. การรายงาน (Reporting : R) การรายงานเป็นการแจ้งผลการปฏิบัติงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานความคืบหน้าของงานในหน่วยงาน การรายงานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกหน่วยงานก็ตาม นอกจากนั้นการรายงานก็เพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงานได้ทราบความเคลื่อนไหวของกิจการสม่ำเสมอด้วย


3. การจัดโครงสร้างองค์การของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน

4. บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานมีอะไรบ้าง
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ

5. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านห้องสมุดสื่อมีบทบาทอะไรบ้าง
1) ผู้สอน(teacher)
2) ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
3) ผู้ร่วมลงมือกระทำ (collaborator)
4) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้
5) ปรับวิธีการเรียนรู้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ใหม่ๆ

6. การประสานงาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างไร
การประสานงานเปนสิ่งสําคัญประการหนึ่งของการบริหารที่สามารถ
นําไปสูคุณภาพการบริหาร อันจะนํามาซึ่งผลสําเร็จขององคกร และในองคกรที่ตองเกี่ยวของกับ
สภาพแวดลอมภายนอกยิ่งมีความจําเปนที่จะตองใชการประสานงานเพื่อใหเกิดการรวมมือระหวางกันศึกษาวิธีการทํางานของกันและกัน ลดการซํ้าซอน สามารถแบงลักษณะงาน หรือกลุมเปาหมายที่ตนสมควรทําหรือมีความถนัดได้

7. องค์ประกอบของระบบประกอบด้วยกี่ด้าน
องค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback
5. สภาพแวดล้อม (Environment

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์วิทยบริการ

1. ศูนย์วิทยบริการมีเป็นการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรูลักษณะใด
ข้อที่ 1 ศูนย์วิทยบริการเป็นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนอกโรงเรียนและแบบตามอัธยาศัย

2. ให้นิสิตสรุปความหมายของศูนย์วิทยบริการมาพอเข้าใจ
ข้อที่ 2 ศูนย์วิทยบริการ คือ สถานที่แหล่งการเรียนรู้ มีสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษา แสวงหาความรู้
เป็นแหล่งข้อมูลให้ได้มีการเรียนรู้

3. การบริการของศูนย์วิทยบริการมีอะไรบ้าง
ข้อที่ 3 บริการมีสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ นิตยสาร วารสาร งานวิจัย ศูนย์วิทยบริการเป็นแหล่งข้อมูล เป็นแหล่งการศึกษา เป็นแหล่งวัฒนธรรม เป็นแหล่งนันทนาการให้บริการข้อมูลต่างๆโดยไม่หวังผลกำไร


4. หน้าที่ของศูนย์วิทยบริการคืออะไร
ข้อที่ 4 ให้บริการ แหล่งการเรียนรู้ต่างๆ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เทคโนโลยีต่างๆ การสื่อสาร ให้บริการข้อมูลต่างๆโดยไม่หวังผลกำไร



5. ให้นิสิตเปรียบเทียบโครงสร้างของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยบูรพา สำนักวิทยบริการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร โดยสร้างเป็นตาราง 3 ช่อง และระบุฝ่ายงานต่าง ๆ พร้อมภารกิจให้บริการว่ามีอะไรบ้าง มีความเหมือนกันส่วนใด และต่างกันส่วนใด

การจัดรูปแบบองค์กรและการแบ่งส่วนงานม.บูรพา
หัวหน้างานสำนักงานเลขานุการ/
เลขานุการสำนักหอสมุด
หัวหน้างานบริหารทั่วไป หัวหน้างานการเงินและพัสดุ
หน่วยสารบรรณ
หน่วยบุคคล
หน่วยแผนงาน
หน่วยอาคารและยานพาหนะ
หน่วยประชาสัมพันธ์
หน่วยประกันคุณภาพการศึกษา
หน่วยการเงินและบัญชี
หน่วยพัสดุ


ม.เกษตรศาสตร์



ม.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ข้อที่ 5
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีผู้อำนวยการ เป็นผู้ดูแลสูงสุดมีผู้ดูแล2ฝ่ายกรรมการบริหารสถาบันวิทยบริการ
สำนักงานประกันคุณภาพ และแบ่งการทำงานให้กับรองผู้อำนวยการ และที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีหอศิลปะด้วยมีการจัดแสดงงานศิลป์ ต่างจากมหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมีผู้ดูแลฝ่ายต่างๆ

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศูนย์สื่อการศึกษา


วันที่ 2กรกฎาคม 2553
1. จงให้คำจำกัดความของศูนย์สื่อการศึกษามาให้เข้าใจ
สิ่งต่างๆที่นำความรู้ไปสู่ผู้เรียนหรือช่องทางหรือเครื่องมือที่ช่วยให้สารอาศัยผ่าน อาจอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ (Printed media) หรือสื่อไม่ตีพิมพ์ (Non-printed Media) ก็ได้

2. ทำไมศูนย์สื่อการศึกษาแต่ละสถาบันจึงมีชื่อเรียกแตกต่างกัน จงอธิบาย
ศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามการจัดแบ่งของหน่วยงาน ความสำคัญของแต่ละศูนย์ และหน้าที่เฉพาะที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะของศูนย์สื่อการเรียนการสอนจึงแตกต่างกันไป และน่าจะแยกได้ออกเป็นแบบต่าง ๆ ได้แก่
1. ศูนย์สื่อเพื่อการผลิตและเผยแพร่ (Production and Distribution) เป็นศูนย์ที่ทำหน้าที่ในการ ผลิตสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์ การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา การผลิตสื่อการสอนในรายวิชาต่าง ๆ การจัดผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ชุดการสอน จัดอบรมการผลิตสื่อและจำหน่ายสื่อให้กับผู้สนใจ
2. ศูนย์สื่อเพื่อให้บริการและสนับสนุนการเรียนการสอน (Service and Support) เป็นศูนย์ที่ ให้บริการสื่อการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งอุปกรณ์การสอน การให้คำปรึกษาและข้อแนะนำในการใช้สื่อเป็นศูนย์ที่มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์สื่อ ให้บริการยืม และสนับสนุนการเรียนการสอน และเป็นศูนย์ที่ทุกคนเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
3. ศูนย์สื่อครบวงจร เป็นศูนย์ที่รวมรูปแบบของศูนย์สื่อเพื่อผลิตและบริการเข้าไว้ในรูปแบบ เดียวกัน เป็นศูนย์ที่มีการจัดพื้นที่ในการผลิตและให้บริการสื่อทุกประเภท ติดตั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้บริการกับผู้ใช้ มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษา จัดอบรมการผลิตสื่อและเผยแพร่นวัตกรรม ให้ยืมอุปกรณ์การศึกษาและจัดจำหน่วยสื่อการสอนที่ศูนย์ผลิตขึ้น

4. ศูนย์สื่อเฉพาะทาง เป็นศูนย์ที่ดำเนินการเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานใด หน่วย งานหนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นเพียงศูนย์สื่อเพื่อการผลิต ศูนย์สื่อเพื่อการบริการ หรือศูนย์สื่อที่ครบวงจรก็ได้ แต่จะทำงานเพื่อประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
ข้อ3. ในการจัดศูนย์สื่อการศึกษาขึ้นมาในแต่ละสถานศึกษาทั่วไป มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร
เป็นแหล่งบริการเครื่องมืออุปกรณ์และสิ่งอำนวยความ-สะดวกในการสอนให้กับครูอาจารย์มากกว่าที่จะเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ต้องการแสวงหา ภายใต้แนวคิดที่ว่าผู้เรียนคือศูนย์กลางการเรียนดังนั้นถ้าไม่ปรับเปลี่ยนศูนย์สื่อการสอนให้มีสภาพเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้เพื่อเอื้อให้กับผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ ระบบโทรคมนาคมหรือเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ แล้วเราจะปรับเปลี่ยนวิธีการทางการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้คิดและได้ทำด้วยตนเองให้เกิดขึ้นได้อย่างไร



ข้อ4. จงวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาในแต่ละวิธีการ
มาให้เข้าใจ
วิธีการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาได้ดังนี้
แบบเฉพาะห้องสมุด (Centralization of Library Materials and Services Only) เป็นการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาที่สถาบันการศึกษาได้จัดศูนย์สื่อการศึกษาบริการเฉพาะสิ่งพิมพ์ต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องสมุดไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (Non – Printed Materials) ที่เป็นสื่อการสอนต่างๆจัดซื้อดูแลรักษาด้วยตนเอง
ข้อดี เป็นที่รวมความรู้ต่างๆมากมาย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากหลายแหล่ง
ข้อจำกัด ได้รับข้อมูลที่ดีแต่ขาดการปฏิบัติและประสบพบเจอกับจริง

แบบเฉพาะสื่อโสตทัศนูปกรณ์(Audiovisual Services หรือ Audiovisual Aids) เป็นการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาที่เน้นการให้บริการสื่อประเภทวัสดุที่ไม่เป็นสิ่งตีพิมพ์ ได้แก่ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ
ข้อดี เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ค่อนข้างหลากหลายได้รับความรู้จากหลายทาง
ข้อจำกัด อุปกรณ์ สื่อต่างๆอาจจะให้ความรู้ได้ไม่ครบและครอบคุมตามที่ต้องการ
แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์ (Centralization of Instructional Media Center Services) เป็นการดำเนินงานศูนย์สื่อการศึกษาที่สมบูรณ์ คือ สามารถให้บริการสื่อประเภทสิ่งพิมพ์และสื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ในศูนย์ฯ เดียวกันโดยจะมีคณะทำงานและบุคลากรที่มีความชำนาญงานเฉพาะสาขาช่วยดำเนินงานให้เกิดผลอย่างเต็มที่ มีการบริหารงานและระบบการบริการเป็นหน่วยงานเดียวกัน
ข้อดี มีความครบคันที่หลากหลาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างดี
ข้อจำกัด คนไม่มีเงินอาจจะเข้าไม่ถึงในด้านนี้ เพราะบางที่มีค่าใช้จ่าย

ข้อ5. หากท่านประสงค์จะจัดตั้งศูนย์สื่อการศึกษาจะมีหลักการดำเนินงานอย่างไร
กำหนดจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้
1. เป็นแหล่งบริการและอำนวยความสะดวกในด้านการผลิตสื่อสำหรับผู้สอนและผู้เรียน
2. ให้คำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ประกอบในการเรียนการสอนและการศึกษาด้วยตนเอง
3. เป็นแหล่งค้นคว้าและวิจัยเทคนิคการเรียนการสอนใหม่ๆ
4. ช่วยเหลือผู้เรียนในการพัฒนาความรู้โดยใช้สื่อหลายรูปแบบ
5. ให้ความร่วมและประสานความรวมมือในการใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในสถาบันและภายนอกสถาบัน
6. ให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามความสามารถและความสนใจของบุคคล
7. เป็นแหล่งรวมวัสดุอุปกรณ์ที่กระจัดกระจายในแต่ละหน่วยงานในสถานศึกษา ให้สามารถนำมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพ
8. ใช้เป็นสถานที่เลือกสรรมาตรฐานของสื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนและผู้สอน
9. เพื่อเป็นสถานที่ประสานที่ประสานประโยชน์ด้านห้องสมุดและโสตทัศน์เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นแหล่งความรู้อันสมบูรณ์

อ้างอิง www.dei.ac.th/ac/06.doc
http://gotoknow.org/blog/jananey/207345
ข้อ6.
1.สำนักงานหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์
2.สำนักงานหอสมุด มหาวิทยาบูรพา แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์
3.สำนักงานหอสมุดแห่งชาติจังหวัดชลบุรี แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์
4. ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล แบบเฉพาะสื่อโสตทัศนูปกรณ์
5.สวนหลวง ร.9 ชลบุรี แบบศูนย์บริการสื่อสมบูรณ์