วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาดูงานจากสถานที่ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ

1. ให้อธิบายความแตกต่างระหว่างห้องสมุดกับศูนย์สื่อการศึกษา

2. ให้นิสิตสรุปหลักการบริหารจัดการแบบ POSDCARE มาพอเข้าใจ
1. การวางแผนงาน (Planning : P) เป็นการกำหนดแผนงานและโครงงานที่จะดำเนินการในอนาคตให้บรรลุเป้าหมายรวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเวลาที่ใช้ในการดำเนินงาน โดยกำหนดเป็นแผนแม่บทระยะยาวประมาณ 3 – 5 ปี และแผนปฏิบัติการเป็นรายปี
2. การจัดหน่วยงาน (Organizing : O) ศูนย์สื่อการศึกษา ต้องมีการกำหนดโครงสร้าง อำนาจหน้าที่การแบ่งสายงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้โดยแบ่งเป็นฝ่าย หน่วยและแผนกที่ครอบคลุมกิจกรรมและการให้บริการที่ผู้รับบริการพึงพอใจโดยจัดให้เป็นสัดส่วนและอาจมีหน่วยงานที่ปรึกษาประกอบด้วยก็ได้
3. การจัดบุคลากร (Staffing : S) เป็นการจัดอัตรากำลังจัดคนหรือบุคลากรเข้าไปในหน่วยงานหรือการจัดบุคคลให้เข้ากับงานโดยคำนึงถึงคุณสมบัติของบุคคลและปริมาณที่เพียงพอกับปริมาณของงาน ดังนั้นการบริหารงานด้านบุคลากรต้องบริหารด้วยระบบคุณธรรม (Merit System) เพื่อเป็นการส่งเสริมขวัญ กำลังใจและเสริมสร้างบรรยากาศในการปฏิบัติงาน
4. การอำนวยการ (Direction : D) เป็นการกระทำให้บุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายฉะนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีระบบการวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมบังคับบัญชาและการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้บริหารในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน การอำนวยการบางทีเรียกว่าเป็นการนิเทศหรือการสั่งการ การติดตามผล (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 : 17) ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคทั้งทางจิตวิทยา การสร้าง มนุษยสัมพันธ์ การสร้างขวัญและอื่น ๆ ประกอบ
5. การประสานงาน (Coordinating : C) คือ การประสานงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานนอกจากนั้นศูนย์สื่อการศึกษาต้องมีการจัดระบบการประสานกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายในกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องอย่างแข็งขัน
6. การจัดสรรทรัพยากร (Allocating of Resources : A) ศูนย์สื่อการศึกษาต้องจัดหาและจัดสรรทรัพยากรให้พอเพียงที่จะดำเนินการให้ได้ตามแผนโดยกำหนดแหล่งทรัพยากรและการจัดหาทรัพยากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดงบประมาณเพื่อดำเนินงานให้ตรงกับความต้องการของแผนงาน
7. การรายงาน (Reporting : R) การรายงานเป็นการแจ้งผลการปฏิบัติงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานความคืบหน้าของงานในหน่วยงาน การรายงานถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการประชาสัมพันธ์หน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกหน่วยงานก็ตาม นอกจากนั้นการรายงานก็เพื่อให้ผู้บริหารและสมาชิกของหน่วยงานได้ทราบความเคลื่อนไหวของกิจการสม่ำเสมอด้วย


3. การจัดโครงสร้างองค์การของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
งานบริหาร คือ กระบวนการทางการจัดการด้านกายภาพที่จำเป็นในการจัดตั้งและการดำเนินงานด้านเทคนิคและงานบริการ
งานบริหาร ได้แก่ งานอาคารสถานที่ งานจัดหา ครุภัณฑ์ งานจัดหาวัสดุสารนิเทศ งานบุคลากร งานการเงิน งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานสารบรรณ งานสถิติและงานจัดทำบันทึก และรายงานผล
งานเทคนิค เป็นงานที่บรรณารักษ์จะต้องจัดทำเกี่ยวกับวัสดุสารนิเทศ นับตั้งแต่คัดเลือกและจัดหาเข้ามาจนกระทั่งจำหน่ายออกไปจากห้องสมุด งานเทคนิคดังกล่าว ได้แก่ การสำรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และโสตทัศนวัสดุ การคัดเลือกและจัดหา การจัดเตรียมหนังสือ การวิเคราะห์เนื้อหาและกำหนดเลขหมวดหมู่ การทำรายการ การจัดหนังสือขึ้นชั้น การทำดรรชนีวารสาร การทำบรรณานุกรม การทำบรรณนิทัศน์ การซ่อมหนังสือและการจำหน่ายหนังสืออกจากห้องสมุด
งานบริการ คือ การให้บุคคลได้ใช้หนังสือและวัสดุสารนิเทศอย่างอื่นๆ ที่ห้องสมุด จัดหามาเพื่อประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทั่วไป ความจรรโลงใจและความเพลิดเพลิน

4. บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานมีอะไรบ้าง
บุคลากรและทีมงานต้องถูกฝึกและพัฒนาให้มีทักษะพื้นฐานดังนี้
1) ทราบแหล่งข้อมูลสารสนเทศ : ว่าข้อมูลมาจากที่ใด วิธีการเก็บรวบรวม โครงสร้างวิธีการเข้าถึงข้อมูล
2) การจัดการและการใช้ข้อมูลสารสนเทศ: การวางแผน การตลาด การประเมินผล การประเมินความต้องการพื้นฐาน
3) ทราบระบบและรูปแบบการสื่อสาร: ว่าเทคโนโลยีสนับสนุนกิจกรรมได้อย่างไร ทราบปัญหาและโอกาส
4) วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม: กฎหมาย นโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาแห่งชาติ และแนวโน้มของเทคโนโลยี
5) มีทักษะการจัดการ: ทรัพยากรมนุษย์ การเงิน สถิติ การจัดการโครงการการฝึกอบรม รูปแบบของการสร้างความร่วมมือ

5. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านห้องสมุดสื่อมีบทบาทอะไรบ้าง
1) ผู้สอน(teacher)
2) ผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)
3) ผู้ร่วมลงมือกระทำ (collaborator)
4) จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียนรู้
5) ปรับวิธีการเรียนรู้ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ใหม่ๆ

6. การประสานงาน มีบทบาทและความสำคัญอย่างไร
การประสานงานเปนสิ่งสําคัญประการหนึ่งของการบริหารที่สามารถ
นําไปสูคุณภาพการบริหาร อันจะนํามาซึ่งผลสําเร็จขององคกร และในองคกรที่ตองเกี่ยวของกับ
สภาพแวดลอมภายนอกยิ่งมีความจําเปนที่จะตองใชการประสานงานเพื่อใหเกิดการรวมมือระหวางกันศึกษาวิธีการทํางานของกันและกัน ลดการซํ้าซอน สามารถแบงลักษณะงาน หรือกลุมเปาหมายที่ตนสมควรทําหรือมีความถนัดได้

7. องค์ประกอบของระบบประกอบด้วยกี่ด้าน
องค์ประกอบสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1. ปัจจัยนำเข้า (Input)
2. กระบวนการ (Process)
3. ผลผลิต (Output)
4. ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback
5. สภาพแวดล้อม (Environment

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น