วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 ตั้งความหวังสู่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน

วันที่ 18 มิถุนายน 2553
-ให้นิสิตสรุปขอบข่ายงานของเทคโนโลยีการศึกษา

ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา ประกอบด้วย 5 ขอบข่ายใหญ่ และแต่ละขอบข่ายแยกเป็น 4 ขอบข่ายย่อย รวมเป็นขอบข่ายย่อยทั้งหมด 20 ขอบข่าย ดังนี้
1.1 การออกแบบ (design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
1.1.1 การออกแบบระบบการสอน (instructional systems design)
1.1.2 ออกแบบสาร (message design)
1.1.3 กลยุทธ์การสอน (instructional strategies)
1.1.4 ลักษณะผู้เรียน (learner characteristics)
1.2 การพัฒนา (development) เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ
1.2.1 เทคโนโลยีสิ่งพิมพ์ (print technologies)
1.2.2 เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ (audiovisual technologies)
1.2.3 เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer – based technologies)
1.2.4 เทคโนโลยีบูรณาการ (integrated technologies)
1.3 การใช้ (utilization) เป็นการใช้กระบวนการ และแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
1.3.1 การใช้สื่อ (media utilization)
1.3.2 การแพร่กระจายนวัตกรรม (diffusion of innovations)
1.3.3 วิธีการนำไปใช้ และการจัดการ (implementation and institutionalization)
1.3.4 นโยบาย หลักการและกฎระเบียบข้อบังคับ (policies and regulations)
1.4 การจัดการ (management)
1.4.1 การจัดการโครงการ (project management)
1.4.2 การจัดการแหล่งทรัพยากร (resource management)
1.4.3 การจัดการระบบส่งถ่าย (delivery system management
1.4.5 การจัดการสารสนเทศ (information management)
1.5 การประเมิน (evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน
1.5.1 การวิเคราะห์ปัญหา (problem analysis
1.5.2 เกณฑ์การประเมิน (criterion – reference measurement)
1.5.3 การประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation)
1.5.4 การประเมินผลสรุป (summative evaluation)

-ความหมายของศูนย์

การเรียนรู้มิได้หมายถึงการรับรู้ข้อมูลแต่การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของพฤติกรรมอย่างถาวรโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับและประสบการณ์นั้นเป็นแหตุให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม
เช่น การได้สัมผัสกับเหตุการณ์การเข้าร่วมในเหตุการณ์
การได้รับรู้เหตุการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้วมีผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัดเจน
เรียกว่าการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กได้มากจากการเล่นเป็นสำคัญ
ศูนย์การเรียนรู้ (Learning center)
เป็นบริเวณที่จัดขึ้นสำหรับให้ได้เรียนรู้และรับผิดชอบตนเองด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือกับเพื่อนตามความสนใจ
ความต้องการ รูปแบบการเรียนรู้และระดับพัฒนาการ

-ความหมายของทรัพยากร

ความหมายของทรัพยากร หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในแง่ของการอนุรักษ์แบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1. ทรัพยากรที่ใช้แล้วไม่สูญสิ้น (Inexhaustible Natural resources) ได้แก่ น้ำในวัฏจักร พลังงานแสงอาทิตย์ และบรรยากาศ
2. ทรัพยากรที่ใช้แล้วสูญสิ้น (Exhaustible Natural resources) ได้แก่ ดิน น้ำในแหล่งน้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรมนุษย์ แร่ธาตุ และพลังงานอันเกิดจากสิ่งมีชีวิต(ถ่านหิน กาซธรรมชาติน้ำมัน)ทรัพยากรที่ใช้แล้ว

-ความหมายของการเรียนรู้

การเรียนรู้1 หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลจากการที่บุคคลทำกิจกรรมใดๆ ทำให้เกิดประสบการณ์และ
เกิดทักษะต่างๆ ที่ก็ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
การเรียนรู้2 หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติ แนวคิด และพฤติกรรมอันเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์
การเรียนรู้3 หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนถ่ายประสบการณ์ไปเป็นความรู้ ทักษะและเจตคติ โดยอาศัยกระบวนการ
ที่หลากหลาย
จึงสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การที่ได้รับประสบการณ์ จนเกิดการพัฒนาเป็น ความรู้ ทักษะ แนวคิด จนเกิดการ
เปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมใหม่

-ภาพของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในฝัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น