วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2553

บอกเรื่องราวทฤษฎีการจัดการผ่าน e-Learning

1. ความหมายของศูนย์การเรียนรู้
การเรียนรู้มิได้หมายถึงการรับรู้ข้อมูลแต่การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่
หมายถึงการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของพฤติกรรมอย่างถาวรโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับและประสบการณ์นั้นเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม ลักษณะองค์ประกอบของศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์หรือมุมการเรียนรู้เป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ ของเล่นสำหรับเด็กที่เป็นพวกเดียวกันใช้ประโยชน์อย่างเดียวกันเป็นหมวดหมู่ พร้อมให้เด็กใช้เล่นได้ตามความสนใจอย่างอิสระการกำหนดชื่อศูนย์หรือมุมการเรียนรู้จะเน้นตามชื่อของอุปกรณ์สิ่งของที่จัดไว้ในศูนย์หรือมุมการเรียนรู้นั้น ได้แก่
มุมหนังสือ เป็นแหล่งรวมหนังสือสำหรับเด็กประเภทต่าง ๆ คล้ายห้องสมุดย่อย มุมไม้บล็อค เป็นแหล่งรวม
ไม้บล็อกตัวต่อ ลัง ที่เด็กสามารถนำไปต่อเล่นสนุกหรือต่อเล่นเป็นบ้านสมมติ เป็นต้น มุมบ้านบทบาทสมมติเป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ เครื่องเรือนเครื่องครัว เสื้อผ้า เด็กสามารถใช้มุม บ้านเล่นสมมติหรือติ๊งต่าง เป็นบุคคลในครอบครัว มุมวิทยาศาสตร์เป็นแหล่งรวมสัตว์ พืช เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเช่นแว่นขยายตะแกรงจับแมลงเป็นต้น มุมดนตรี ปกติมักจะแยกเป็นเอกเทศ เพราะเวลาเล่นเสียงจะรบกวนมุมอื่น ๆ ถ้าอยู่ห้องเดียวกันอุปกรณ์ในมุมจะเป็นเครื่องดนตรี เคาะ ดีด สี ตี เป่าที่เด็กเรียนได้อย่างอิสระ มุมศิลปะเป็นที่สำหรับทำกิจกรรมศิลปะ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สี พู่กัน ดินน้ำมัน ฯลฯ
อ้างอิง http://pre.aru.ac.th/content/blogsection/4/15/

2. ทรัพยากรเรียนรู้คือ ทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งของ ที่ให้ความรู้
แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
อ้างอิง images.jirapornetc.multiply.multiplycontent.com/.../แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้.doc?...

3. มาตรา 10 การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคล ซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิ และโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 15 การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษา นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
(1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษา ที่แน่นอน
(2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
(3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้ง จากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
มาตรา 25 รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูล และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา 38 ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงาน การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา รวมทั้งพิจารณาการจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ประสาน ส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่ การศึกษา ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้อง กับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน สังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคม ผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้ปกครอง และครู ผู้นำทางศาสนา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
จำนวนกรรมการ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา การเลือกประธาน กรรมการและกรรมการ วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตาม ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่ การศึกษา

อ้างอิง http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/Nthailaw-4-1/Nlaw/N1188/m1-40.html

4. ประเภทของศูนย์การเรียน
1. ศูนย์การเรียนที่แยกเป็นเอกเทศจากห้องเรียน
1.1 ศูนย์การเรียนสำหรับครู
1.2 ศูนย์การเรียนสำหรับนักเรียน
1.3 ศูนย์การเรียนสำหรับชุมชน
2. ศูนย์การเรียนที่ไม่แยกเป็นเอกเทศจากห้องเรียน
2.1 ศูนย์การเรียนในห้องเรียน
2.2 ห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน
ตัวอย่างศูนย์การเรียนในชลบุรีมา 3 แหล่ง
1.สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



2.หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี



3.วัดใหญ่อินทราราม



อ้างอิง http://learning.smd.kku.ac.th/science/www/student/sclow5.htm
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww525/saint2514/saint2514-web1/amphurmuang_files/amphurmuang.htm

5. ระบบการศึกษาเป็นระบบแรกที่สร้างเทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ขึ้น และเป็นสิ่งชักนำให้ส่งผลกระทบไปในงานด้านอื่นๆ อีกจำนวนมาก ในปัจจุบันการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนเนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์ในระยะยาว การใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการเรียนการสอนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปถึงระดับ มัธยมและประถมด้วย การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษานี้จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างกว้าง ขวางรวดเร็ว ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ศึกษาได้ดีขึ้น และยังช่วยให้ผู้สอนสามารถใช้เวลาในการวางแผนและพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าใน การศึกษาได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอนยังอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสอนที่จะเป็น ประโยชน์ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนให้เหมาะสมกับสภาวะของผู้ เรียนได้อีกด้วย
นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะมีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกลง และมีผู้สร้างบทเรียนสำหรับใช้สอนโดยคอมพิวเตอร์มากขึ้น ในระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้ ผู้เรียนจะเรียนโดยใช้แป้นตัวอักษรและจอโทรทัศน์ที่เชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีผู้เตรียมบทเรียนต่างๆ ไว้พร้อมแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงภาพและข้อความบนจอโทรทัศน์ ข้อความนั้นอาจจะเป็นคำแนะนำเพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติ คำอธิบายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจหรือเป็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ เครื่องคอมพิวเตอร์จะบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนว่าได้เข้าใจในเรื่องต่างๆ ดีขึ้นประการใดบ้าง ผู้สอนสามารถจะติดตามผลการเรียนได้สิ่งเหล่านี้จะช่วยทำให้การเรียนการสอนดี ขึ้น ครูผู้สอนจำเป็นต้องหาทางปรับปรุงบทเรียนที่ใช้สอนของตนอยู่เสมอผู้เรียนจะ ต้องอ่านบทเรียนจากจอภาพแทนการอ่านจากหน้ากระดาษ นอกจากนี้ ตำราหรือบทเรียนจะเก็บในรูปของจานแม่เหล็กหรือแถบวีดิทัศน์แทนหนังสือ ผู้เรียนสามารถหาอ่านได้ง่าย สมมุติว่าเราต้องการรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องต้นไม้ ถ้าเรื่องนี้มีเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์แล้ว คอมพิวเตอร์จะตรวจดูว่ามีเรื่องนี้ ณ ที่ใด และจะแสดงบนจอภาพให้เห็นได้ทันที ผู้เรียนทุ่นเวลาในการไปค้นหาได้มาก ผลกระทบเหล่านี้จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
ผลกระทบที่สำคัญทางด้านการศึกษาคือ การกลับมาอบรมและศึกษาใหม่ เนื่องจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและกำลังทำงานอยู่ ต้องปรับปรุงตนให้เข้ากับระบบงานที่กำลังจะเริ่มใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกลับ เข้าอบรมและศึกษาใหม่ ถ้าการสอนเทคโนโลยีลึกซึ้งเกินไป ผู้เข้ารับการอบรมจะท้อแท้และเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน ไม่สามารถรับวิทยาการใหม่ได้ ผลก็คือ ประสิทธิภาพในการทำงานด้อยลง และอาจจะก่อปัญหาถึงระดับสูงได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบกลับมายังวิธีการศึกษาว่าจะต้องหาทางพัฒนาวิธีการ ให้เข้าใจง่าย และเป็นที่ยอมรับได้ตั้งแต่แรก
ส่วนการเรียนการสอนโดยทั่วไป ยังมีลักษณะเหมือนเดิม คือ มีห้องเรียน มีครูสอน มีอุปกรณ์การสอนเช่นเดิม เช่น กระดานดำ เครื่องฉายสไลด์ สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือการวางแผนบริหารระบบงานทางด้านการศึกษา ให้สะดวกต่อการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้

อ้างอิง
ผลกระทบทางด้านการศึกษา โดย นายสมชาย ทยานยง และนางสาววรจิต วัฒนสินธุ์
http://guru.sanook.com/enc_preview.php?id=2139&title=%BC%C5%A1%C3%D0%B7%BA%B7%D2%A7%B4%E9%D2%B9%A1%D2%C3%C8%D6%A1%C9%D2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น